บทความแนะนำ

Posted by : andria วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557



ฟังก์ชันไซน์และโคไซน์
 
การกำหนดค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิตินั้น สามารถทำได้โดยการใช้วงกลมรัศมี 1 หน่วย มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด
และเราจะเรียกวงกลมดังกล่าวว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (The unit circle)

เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ (ทีตา) จาก (1,0) วัดระยะไปตามส่วนโค้งของวงกลม โดยมีข้อตกลงดังนี้ว่า :
ถ้า θ > 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ถ้า θ < 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ถ้า θ = 0 จุดปลายส่วนโค้งคือจุด (1,0)
จะได้ว่า เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ ให้ เราสามรารถหาจุด (x,y) ซึ่งเป็นจุดปลายส่วนโค้งได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น
ถ้า |θ| > 2π แสดงว่า วัดส่วนโค้งเกิน 1 รอบ เพราะเส้นรองวงของวงกลมยาว หน่วย 



เมื่อ (x,y) เป็นจุดปลายส่วนโค้งของวงกลมข้างต้น
                                y = sin θ                 (อ่านว่า วาย เท่ากับ ไซน์ทีตา)
                                x = cos θ                (อ่านว่า เอกซ์ เท่ากับ คอสทีตา)
  ฟังก์ชันไซน์และฟังก์ชันโคไซน์นั้น เป็นจำนวนจริง ตั้งแต่ -1 ถึง 1
นั่นคือ เรนจ์ของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ คือ เซตของจำนวนจริง ตั้งแต่ -1 ถึง 1
และโดเมนของฟังก์ชันทั้งสองคือเซตของจำนวนจริง

จากสมการ x2 + y2 = 1 , y = sin θ , x = cos θ จะได้ความสัมพันธ์ของ sin θ และ cos θ ดังนี้

                (cos θ)2 + (sin θ)2 = 1                         เมื่อ θ เป็นจำนวนจริง
หรือเขียนได้เป็น
                cos2 θ + sin2 θ = 1                               เมื่อ θ เป็นจำนวนจริง

แบบทดสอบวัดความเข้าใจของบทนี้:

แบบทดสอบวัดความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

เนื้อหาต่อไป:

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

จิ้มชื่อหัวข้อเพื่อดูได้เลยจ้า

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © CD Trigonometry - Date A Live - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -